ในการวิเคราะห์สมรรถนะของเครื่องปรับอากาศแบบหน่วยเดียว รายการเครื่องมือวัดที่จำเป็น
ได้แก่ Power Meter หรือ kW
Meter, Thermometer (เครื่องมือวัดอุณหภูมิ), Anemometer (เครื่องมือวัดความเร็ว
อากาศ), Hygrometer (เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์)
และPsychometric Chart (แผนภูมิอากาศ) โดยมีแนว
ทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้
1 บันทึกค่าความเร็วลมผ่านหน้าตัดของช่องลมกลับ ในหน่วย
m/s โดยควรวัดหลาย ๆ
จุดให้ทั่วทั้งหน้าตัดแล้วหาเป็นค่าเฉลี่ย
2 วัดขนาดพื้นที่หน้าตัดของช่องลมกลับ
แล้วนำไปคูณกับค่าความเร็วลมเฉลี่ยเพื่อหาปริมาณลมหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นได้
3 บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมจ่าย (Supply
Air) เพื่อนำไปหาค่าเอนทาลปีของลมจ่าย (he) จากแผนภูมิ
Psychometric
4 บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมกลับ (Return
Air) เพื่อนำไปหาค่าเอนทาลปีของลมกลับ (hi) จากแผนภูมิ
Psychometric
5 บันทึกค่าการใช้กำลังไฟฟ้าของพัดลมเป็น kW ด้วย Power Meter
เครื่องวัดความเร็วลม(Anemometer)
เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ
(Hygrometer)
ไซโครเมตริกชาร์ท(Psychometricchart )
ตารางค่าเอนธาลปีของอากาศ
หาปริมาณลมเย็นหมุนเวียนผ่านเครื่องปรับอากาศโดยใช้เครื่องมือวัดความเร็วลม
หาอุณหภูมิ(C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ของอากาศทางด้านลมส่ง
หาอุณหภูมิ(C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%RH) ของอากาศทางด้านลมกลับ
สมรรถนะการทำความเย็นประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศแสดงในรูปของค่าสมรรถนะการทำความเย็น
(Coefficient of Performance, COP) ซึ่งนิยามด้วย
อัตราส่วนของพลังงานความร้อนที่ถูกดูดซับโดยคอยล์เย็น (ปริมาณความเย็นที่ทำได้)
ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ระบบใช้
Cop=QL/Ecomp
QL = อัตราการทำความเย็น, kW
Ecomp = ความต้องการไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ,
kW
ค่า COP สูงแสดงถึงประสิทธิภาพที่ดีของระบบปรับอากาศ
สำหรับค่า COP ที่พิจารณาเฉพาะพลังงาน
ที่ใช้ในคอมเพรสเซอร์
เป็นเพียงค่าที่แสดงประสิทธิภาพของการทำความเย็นเท่านั้น ส่วนค่าสมรรถนะของทั้ง
ระบบ (System COP, SCOP) จะต้องรวมพลังงานที่จ่ายให้กับพัดลมและเครื่องสูบน้ำด้วย
ค่า SCOP สูงหมายถึงระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานน้อย
ในทางปฏิบัติสมรรถนะของระบบปรับอากาศยังสามารถแสดงได้ในรูปของ ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน
(Energy Efficiency Ratio, EER) และค่ากิโลวัตต์ต่อตันความเย็น
(kW/TR) โดยค่า EERซึ่งมีหน่วยเป็น
บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์
นิยมใช้แสดงค่าประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องชนิดไดเร็คเอ็กส์แพนชั่นหรือเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก
ส่วนค่ากิโลวัตต์ต่อตันความเย็น นิยมใช้แสดงค่าประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
เช่น ระบบน้ำเย็น
EER = 3.415⋅COP
เมื่อ COP = สมรรถนะการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
ตัวอย่างที่ 1
ในการตรวจวัดเครื่องปรับอากาศแบบ Split type เครื่องหนึ่ง
บันทึกค่าความเร็วลมกลับเฉลี่ยบริเวณช่องลมกลับได้เท่ากับ 0.5 m/s วัดขนาดของช่องลมกลับได้พื้นที่เท่ากับ 0.9 m2
ค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมจ่ายเท่ากับ 15.8C และ 78.7%RH
สำหรับลมกลับวัดได้ 25.1C และ 58.2%RH
ค่าการใช้ไฟของเครื่องปรับอากาศวัดได้เท่ากับ 2.4 kW คำนวณหาขนาดการทำความเย็นและสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศ
วิธีการคำนวณ
จากข้อมูลของลมจ่ายและลมกลับ นำไปพล็อตในแผนภูมิอากาศ
จะได้ค่าเอนทัลปีของลมจ่ายเท่ากับ38.1 kJ/kg ส่วนของลมกลับเท่ากับ 54.8 kJ/kgปริมาณลมหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นคิดเป็น 0.5*60*0.9 = 27.0 ลบ.ม./นาที
ขนาดทำความเย็นของเครื่องส่งลมเย็นตัวนี้จะเท่ากับ
QL = 5.707 ×10-3 x Vax
(hi-he)
QL = 5.707 x 10-3 x 27.0 x (54.8 – 38.1) = 2.6 TR
หรือ 2.6 x 12000 = 30,879 Btu/h
หรือ 30,879 x 0.2928 / 1000 = 9.05 kW (1
Btu/h = 0.2928 W)
ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ
EER = EER = บีทียู/ชั่วโมง ÷กำลังไฟฟ้า(วัตต์)=(30,879)/(2.4 x 1000) = 12.9
COP =EER / 3.142 = 12.9/ 3.142=3.77
COP =EER / 3.142 = 12.9/ 3.142=3.77
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น