ก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของ เครื่องปรับอากาศ เราควรทราบก่อนว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle)
1.คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน
ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ
โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
2.คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
3.คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น
4.อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร
ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ
เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
1)
เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็น
แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน เมื่อคอมเพลสเซอร์ได้ทำการอัดสารทำความเย็นไปนั้นสถาณะของสารทำความเย็นจะมีสถาณะเป็นก๊าซที่มีแรงดันสูงและความอุณหภูมิสูง
2) สารทำความเย็นจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยโดยมีทิศทางคือเข้าด้านบนแล้วออกด้านล่าง
มีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อนและเปลี่ยนสถาณะจากกาซเป็นของเหลว ทำให้สารทำความเย็นจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง
(ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน
3)สารทำความเย็นที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก
แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)เมื่อสารทำความเย็นได้ผ่านการลดแรงดันแล้วสถานะของสารทำความเย็นจะเป็นก๊าซ
ที่มีแรงดันที่ต่ำอุณหภูมิต่ำ
4) จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง
เพื่อทำให้อุณหภูมิห้อง ลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น
(ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์โดยสถานะของสารทำความเย็นจะเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำ
แรงดันต่ำ เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป
good
ตอบลบ